บทความน่ารู้

โรคข้อเข่าเสื่อม

อัพเดท : 2 เมษายน 2567 เวลา : 20:09 น.

โรคข้อเข่าเสื่อมคือออะไร

  • ภาวะข้อเข่าเสื่อมมักเกิดได้ตั้งแต่วัยกลางคน ถึงวัยสูงอายุ เกิดได้ทั้งเพศชายและหญิง และมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยภาวะข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่สังคมวัยผู้สูงอายุ โดยร้อยละ 50 ที่่พบภาวะข้อเข่าเสื่อมเกิดจาก น้ำหนุกตัวที่มากกว่าปกติ การใช้ข้อเข่าที่มากกว่าปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากอะไร

  • โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อต่อ รวมถึงการเสื่อมลงของน้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อต่อ ซึงการเสื่อมสภาพดังกล่าวมีผลทำให้ข้อกระดูกมาเสียดสีกัน จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการปวด บวมแดง และมีเสียงดังกรอบแกรบเวลาเดิน หรือตื่นนอนมาช่วงเช้าจะมีอาการข้อฝืดนานน้อยกว่า 30 นาที

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • น้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ
  • การใช้งานข้อเข้าที่มากกว่าปกติ เช่น การออกกำลังกายที่มีการกระโดด ยกของหนักๆ
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ

เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

  1. มีอาการปวดเข่า
  2. ภาพรังสีแสดงกระดูกงอก
  3. มีข้อสนับสนุน 1 ข้อ ดังต่อไปนี้
  4. อายุเกิน 50 ปี
  5. อาการฝืดแข็งในตอนเช้านานน้อยกว่า 30 นาที
  6. มีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวเข่า จากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อ หรือเอ็นที่หนาตัวขึ้น ตลอดจนความขรุขระของกระดูกอ่อนที่บุปลายหัวกระดูก

การดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. การรักษาแบบไม่ใช้ยา เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรค
  2. การรักษาโดยใช้ยา โดยเบื้องต้นจะเป้นยาบรรเทาอาการปวดทั่วไปในกลุ่ม NSAIDs เช่น Piroxicam, Etoricoxib ที่ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดข้อเข่า และยาเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงในไขข้อเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงรู้จักกันดีในตัวยา Glucosamine sulfate กรณีการรักาษาด้วยยาเบื้องต้น สำหรับผู้ทียังมีอาการไม่หนักมากสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติ
  3. การผ่าตัด สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือพบความผิดปกติของข้อต่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจจากทางแพทย์

สรุป

  • โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดได้ทั้งเพศชายและหญิง มักเกิดกับคนในวัยกลางคนและสูงอายุ การรักษาเบื้องต้นที่ทำได้คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง  เช่น ลดน้ำหนัก ลดการใช้งานข้อต่อที่รุนแรง เพื่อชะลอการเสื่อมของข้อต่อ สำหรับการรักษาโดยใช้ยาบรรเทาอาการปวด หรือ ยาเพิ่มน้ำไขข้อก็สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของข้อต่อไดเช่นกัน ทั้งนี้การรักษาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

 ขอบคุณแหล่งอ้างอิง

ศาสตราจารย์คลินิก น.พ.วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท และคณะ โรคข้อเข่าเสื่อม.(ออนไลน์). แหล่งที่มา :https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf,. 30 ตุลาคม 2564