บทความน่ารู้

ไมเกรน กับ อาหารเสริม

อัพเดท : 2 เมษายน 2567 เวลา : 20:09 น.

ไมเกรน

ปัจจัยกระตุ้น

  • อาหาร เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ช็อกโกแล็ต อาหารหรือผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย มะเดื่อ ลูกเกด นม หมักดอง ผงชูรส อาหารที่มีไนเตรต อาหารที่ใส่สารเพิ่มความหวาน
  • สิ่งแวดแล้ว เช่น แสง สี เสียง กลิ่น ควันบุหรี่ สภาพอาการที่เปลี่ยนแปลง เช่น ร้อน เย็น
  • พฤติกรรม เช่น นอนดึก พักผ่อนน้อย เหนื่อยล้า คสามเครียด เป็นประจำเดือนหรือหมดประจำเดือน

อาการไหนที่เรียกว่าไมเกรน

  • ปวดหัวตุ๊บ ๆ ตามจังหวะชีพจร อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการจะแย่ลงเมื่อได้ยินเสียงดังหรือเจอแสง
  • ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
  • บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว

การรักษา

  • ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดได้แก่กลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen, Naproxen และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นจะเป็นยาในกลุ่ม ทริปแทน(triptan) เช่น eletriptan sumatriptan หรือ Cafergot ซึ่งเป็นยาที่เชื่อว่าหลายๆคนที่ปวดไมเกรนจะรู้จักกันดี แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนการเริ่มใช้ยา เพื่อความปลอดภัย

การป้องกันไมเกรน

  • การป้องกันไมเกรน เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนเป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ปัจจุบันมีหลากหลายงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับแมกนีเซียมในการลดอาการปวดไมเกรน เนื่องด้วยแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบภายในเซลล์ของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์สารชีวเคมีชนิด adenosine triphosphate (ATP) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงส่งผลต่อกระบวนการส่งสัญญาณประสาทหรือการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ ด้วย  ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยบางฉบับพบว่าการใช้แมกนีเซียมช่วยลดจำนวนวันหรือความถี่ของการปวดศีรษะไมเกรนต่อเดือนลงได้ร้อยละ 22-43 ซึ่งมากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยปริมาณในการใช้อยู่ในช่วง 300-600 มิลลิกรัมต่อวัน และบางงานวิจัยที่ทดลองนั้นพบว่าการใช้แมกนีเซียมร่วมกับ co-enzyme Q10 และแร่ธาตุอื่นๆ สามารถลดการความถี่ของไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน
สรุป

การปวดไมเกรนเกิดจากการสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติชั่วคราว ส่งผลให้เกิดมีอาหารปวดศรีษะแบบไมเกรนขึ้นมา การรักษาอาการเฉียบพลันนั้นจะใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs และยาในกลุ่มเฉพาะของไมเกรน สำหรับแนวทางในการป้องกันนั้นจะมียาที่ใช้ในการป้องกันหลายชนิดด้วยกันและอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยที่กังวลยาโรคประจำตัวจะไปตีกับยาป้องกันไมเกรนหรือไม่ ซึ่งเป็นทางเลือกในการรักษาและมีประสิทธิภาพมากอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ยารักษา ยาสำหรับป้องกัน หรืออาหารเสริมก่อนที่ใช้ควร ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนการใช้เสมอ

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง :

  • A Controlled Trial of Erenumab for Episodic Migraine Goadsby P, Reuter U, et al N Engl J Med 2017; 377:2123-2132 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29171821/
  • New players in the preventive treatment of migraine. Mitsikostas DD, Rapoport AM. BMC Med. 2015;13:279. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26555040/
  • รศ.ดร. ภญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์.ไมเกรน กับแมกนีเซียม[ออนไลน์].2021,แหล่งที่มา https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/515/ไมเกรน-แมกนีเซียม [28/10/21]